หน้าแรก บล็อก หน้า 38
เราคงทราบแล้วว่าสภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่มีแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมากเกินไป แก๊สเรือนกระจกตัวหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อใช้งาน มนุษย์เองเป็นผู้ปล่อยแก๊สนี้ออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อนำพลังงานมาใช้ ยิ่งเราใช้พลังงานมากเท่าใด ก็ยิ่งได้แก๊สเรือนกระจกออกมามากขึ้นเป็นเงาตามตัว หากเราพิจารณาอัตราการใช้พลังงานในช่วงครึ่งศรวรรษที่ผ่านมา จะพบว่า สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นอย่างดี และไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันนี้ ที่จริงแล้วเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของโลก หากเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โลกจะกลับมาสู่สภาวะสมดุลได้ในเวลาไม่นานนัก แต่เนื่องจากมนุษย์เราเร่งผลิตแก๊สเรือนกระจกออกมามากเกินขีดความสามารถ ของโลกที่จะเยียวยาตนเองได้ทัน การเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วและรุนแรงจึงเกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนในครั้งนี้ ก็คือ มนุษย์   ผลกระทบของภาวะโลกร้อน         รายงานของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) คาดการณ์ถึงผลกระทบและความเสียหายจากสภาวะโลกร้อนที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะก่อให้สัตว์บางชนิดเกิดการสูญพันธุ์ รวมทั้งเกิดความแห้งแล้งและภาวะน้ำท่วมในอนาคต โดยดินแดนที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนักเป็นแหล่งที่อยู่ประชากรโลกที่ยากจน เช่น เขตอาร์กติก (Artic) กลุ่มประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้ (sub-Saharan Africa) กลุ่มหมู่เกาะเล็กๆ และดินแดนลุ่มแม่น้ำในทวีปเอเชีย (deltas of Asia) ตัวแทนกลุ่มศึกษาการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก (IPCC working groups) คาดการณ์ผลกระทบในภาพรวม โดยได้ศึกษารวบรวมแหล่งข้อมูล 29,000 ชุดจากทั่วโลก จึงทำให้สามารถทำนายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่บนโลก ตัวอย่างเช่น การที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะทำให้ทรัพยากรน้ำในเขตชุ่มชื้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่กลับทำให้เกิดความแห้งแล้งแพร่กระจายในดินแดนที่อยู่ในช่วงละติจูดต่ำ (low-latitude) และในพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง...
Call Number รายการบรรณานุกรม R551 E12 Earth and Its Features . (1994). Hong King : Time Life, Asia. R631.403 E56 Encyclopedia of Soils in the Environment . (2005). Oxford : Elsevier. 303.4 ว399ล วัฒนา สุกัณศีล. (2548). โลกาภิวัฒน์ (Globalization) . กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 304.2 ป398ล ประสาน ต่างใจ. (2545). โลกหลัง 2012 : สู่มิติที่ห้า . กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์. 304.2 ป398ศ ประสาน ต่างใจ. (2543). ศตวรรษใหม่ : โลกไม่ต้องการมนุษย์อีกแล้ว . กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์. 304.2 ฟ911ล โฟลเลย์, เจอรัล....
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง มีหลักพิจารณา ดังนี้ กรอบแนวคิด         เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2. เงื่อนไขความธรรม...

MOST POPULAR

HOT NEWS