ประวัติโรงพยาบาลอัมพวา

  • พ.ศ. 2508 พระครูสมุทรนันทคุณ ริเริ่มในการดำเนินการก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยในที่ดินธรณีสงฆ์
  • วัดบางแคน้อย จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา
  • พ.ศ. 2509 วางศิลาฤกษ์อาคารสถานีอนามัยชั้น 1 นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธาน โดยมีนายแพทย์ธนัญย์ ทัพวิมล เป็นนายแพทย์อนามัยจังหวัด (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2510 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสมทบจากระทรวงสาธารณสุข เป็นเงิน 470,000 บาท
  • พ.ศ. 2511 เปิดดำเนินการรักษา มีนายแพทย์สุเมธ สุทธิประการ เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ชั้น 1 วัดบางแคน้อย
  • พ.ศ. 2518 กระทรวงสาธารณสุขยกฐานะจากสถานีอนามัยชั้น 1 วัดบางแคน้อย เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย โดยมีนายแพทย์ทวีศักดิ์ บัวน้ำจืด เป็นผู้อำนวยการ
  • พ.ศ. 2525 กระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนชื่อจากศูนย์การแพทย์และอนามัย เป็นโรงพยาบาลอำเภออัมพวา โดยมีนายแพทย์ชัยพร เรืองกิจ เป็นผู้อำนวยการ
  • 11 มีนาคม 2529 มีการประชุมผู้นำชุมชน เจ้าอาวาสวัดบางแคน้อย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางในการปรับปรุงโรงพยาบาลอำเภออัมพวา เพื่อก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน 2 ชั้น(ปัจจุบันอาคารชั้นบนใช้เป็นสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป ห้องผู้อำนวยการ ห้องประชุม ห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และห้องหัวหน้าพยาบาล ส่วนชั้นล่างเป็นห้องตรวจสุขภาพ คลินิกบำบัดยาเสพติดและคลินิกนวดแพทย์ไทย พร้อมห้องอบสมุนไพร)
  • 11 กันยายน 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน
  • 18 เมษายน 2530 จัดงานดิ่งพสุธามหากุล หาทุนสร้างโรงพยาบาลอัมพวา ได้เงินทั้งสิ้น 162,603.- บาท
  • 7 พฤษภาคม 2530 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสงคราม มอบเงินพัฒนาจังหวัด จำนวน 200,000 บาท รวมเงินบริจาคที่มี 1,993,457.79 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,193,457,79 บาท
  • 8 กันยายน 2530 กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน “พิเศษ-สงฆ์” 2 ชั้น โดยมีห้องพิเศษ 10 ห้อง ห้องสามัญหญิง และสามัญชายและสงฆ์ รวม 18 เตียง
  • 24 กันยายน 2530 วางศิลาฤกษ์ ตึก “พิเศษ-สงฆ์” โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธี
  • กันยายน 2531 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยใน 2 ชั้น
  • พ.ศ. 2534 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ขนาด 30 เตียง
  • 22 มกราคม 2535 กระทรวงสาธารณสุขยกฐานะจากโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 ตียง ให้เป็น โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง
  • พ.ศ. 2545 เปิดให้บริการตึกผู้ป่วยใน ขนาด 30 เตียง(เตียงผู้ป่วยสามัญ ชาย 15 เตียง หญิง 15 เตียง และห้องผู้ป่วยพิเศษ 10 ห้อง เปิดให้บริการ 8 ห้อง)